นักวิทยาศาสตร์ออสเตรเลียสร้าง stem cells เทียมเป็นครั้งแรกของโลก หวังช่วยผู้ป่วยโรคเลือดมากขึ้น

Carrying out stem cell research in the lab (SBS).jpg

โดยปกติแล้วผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดร้ายแรงและโรคเลือดผิดปกติที่ต้องการรักษาโดยการปลูกถ่ายไขกระดูกต้องรอการบริจาคไขกระดูกที่ 'มีพันธุกรรมตรงกัน' Credit: SBS

Get the SBS Audio app

Other ways to listen

นักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลียค้นพบการสร้าง stem cells จากห้องแล็บ เป็นครั้งแรกของโลก ซึ่งสเต็มเซลล์ชนิดนี้ มีลักษณะใกล้เคียงกับที่พบในร่างกายมนุษย์ พวกเขากล่าวว่าการค้นพบนี้อาจทำให้ในอนาคต คนป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดร้ายแรงและโรคเลือดผิดปกติอื่นๆ ไม่ต้องรอการบริจาคไขกระดูกที่ 'มีพันธุกรรมตรงกัน'


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

ในระหว่างที่พักร้อนในประเทศอินเดีย คุณ กัวราฟ และ คุณ โซนาลี มหาจัน ผู้ปกครองชาวเมลเบิร์น สังเกตเห็นรอยฟกช้ำที่ขาของลูกสาวเป็นครั้งแรก

ซึ่ง ด.ญ ไรยา ซึ่งในขณะนั้นอายุได้ 11 ปี บอกพ่อแม่ของเธอว่า เธอรู้สึกมีไข้และเหนื่อยล้า

หลังจากพวกเขาพาเธอไปตรวจ แล้วจึงพบว่าเธอมีระดับเกล็ดเลือดในเลือดต่ำมาก เพียง 4,000 เมื่อเปรียบเทียบกับคนปกติที่จะมีเกล็ดเลือดราว 150,000 ถึง 450,000

จากผลการตรวจเลือดดังกล่าว ทำให้คุณกัวราฟ และ คุณ โซนาลี เดินทางกลับออสเตรเลียทันที

คุณ กัวราฟ กล่าวว่าพวกเขา เดินทางกลับเมลเบิร์นทันที ที่อาการของ ด.ญ ไรยา แข็งแรงพอที่จะเดินทางโดยเครื่องบิน เขาเปิดเผยว่า

 "ทันทีที่เราลงเครื่อง เราก็ตรงไปโรงพยาบาลเลย มันเป็นสถานการณ์ที่เครียดมากและก็ทำให้ทุกคนในครอบครัวตกใจ เพราะว่ามันเกิดขึ้นอย่างไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย เพราะเธอก็ดูแข็งแรงเป็นปกติดี"

 ภายในไม่กี่วันหลังจากที่เธอกลับมายังออสเตรเลีย ไรยา เริ่มการบำบัดที่โรงพยาบาล Royal Children's Hospital ในนครเมลเบิร์ทันที เธอเล่าว่า

 "ฉันรู้สึกสับสน แล้วก็กลัวนิดๆ เพราะในระหว่างการักษา มันค่อนข้างทำให้คุณรู้สึกไม่ปกติ อาจะมีอาการคลื่นไส้ และเจ็บปวด"

หลังจากที่ไรยา เข้ารับการรักษาเกือบหกเดือน รวมถึงการถ่ายเลือดทุกๆ สองวัน แพทย์จึงแนะนำให้ครอบครัวของเธอรู้จักกับการรักษาแบบการปลูกถ่ายไขกระดูก

scientific research
นักวิทยาศาสตร์ออสเตรเลียค้นพบการสร้าง stem cells เทียมจากห้องแลปเป็นครั้งแรกของโลก Source: Pixabay / Pixabay/Qimono

 คุณ กัวราฟ กล่าวว่าการหาผู้บริจาคไขกระดูกที่คนไข้สามารถรับได้นั้น เป็นเรื่องยาก คุณ กัวราฟ กล่าวว่า

"กว่าจะเจอไขกระดูกที่เข้ากันกับเรา มันเป็นช่วงเวลาที่น่าวิตกกังวลมาก"

หลังจากรอคอยมาหลายเดือน แม่ของไรยา ก็ตัดสินใจเป็นผู้บริจาคไขกระดูกให้กับลูกสาวของเธอ แม้ว่าจะมีพันธุกรรมที่ตรงกันเพียง 50 เปอร์เซ็นต์ก็ตาม

การปลูกถ่ายประสบความสำเร็จ แต่เพราะไขกระดูกไม่ได้มีพันธุกรรมตรงกัน 100 เปอร์เซนต์ ทำให้ไรยา เกิดอาการแทรกซ้อนและต้องรักษาตัวแบบแยกเดี่ยวในโรงพยาบาลเป็นเวลาอีกสามเดือน คุณ กัวราฟ เล่าถึงสถานการณ์ในขณะที่ไรยาทำการรักษาตัวว่า

"นอกจากความยากลำบากทางร่างกายแล้ว เธอต้องเผชิญกับความยากลำบากทางจิตใจด้วย เพราะว่า เธอไม่สามารถเจอเด็กคนอื่น เกือบหกเดือน"


เมื่อไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลียได้ค้นพบการสร้างไขกระดูก ที่คล้ายกับเซลล์ต้นกำเนิดในมนุษย์ ในห้องแล็บได้เป็นรายแรกของโลกและประสบความสำเร็จในการทดลองปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดให้หนู

 พวกเขากล่าวว่าการรักษาในอนาคตอาจมีการ การเก็บตัวอย่างผิวหนัง เลือด หรือเส้นผมของผู้ป่วย ตั้งโปรแกรมเซลล์ใหม่ จากนั้นจึงถ่ายโอนกลับไปยังผู้ป่วย

 ศาสตราจารย์เอ็ด สแตนลีย์ จากสถาบันวิจัยเด็กเมอร์ด็อก นักวิทยาศาสตร์ ที่มีส่วนร่วมในการศึกษาวิจัยนี้ กล่าวว่า

เทคโนโลยีนี้อาจใช้ในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดใหม่และช่วยให้ไขกระดูกกลับมาทำงานได้ดีขึ้น
ศาสตราจารย์เอ็ด สแตนลีย์ จากสถาบันวิจัยเด็กเมอร์ด็อก

นักวิจัยทราบดีว่า ในขณะนี้การศึกษาในสัตว์ทดลองยังไม่สมบูรณ์แบบ และจะต้องมีการทดลองทางคลินิกในมนุษย์ อีกประมาณ 5 ปี

แต่การค้นพบของพวกเขาอาจช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนผู้บริจาคไขกระดูกได้ในวันหนึ่ง


หัวหน้านักวิจัย รองศาสตราจารย์ อลีซาเบท เอง กล่าวว่า การค้นพบดังกล่าวสามารถลดผลข้างเคียงที่เกิดจากผู้ที่ไม่สามารถหาผู้บริจาคไขกระดูกที่ตรงตามความต้องการได้ รองศาสตราจารย์ เอง ชี้ว่า

"ผู้ป่วยจะสามารถฟื้นฟูและสร้างระบบเลือดใหม่หลังการรักษาโดยไม่มีผลข้างเคียงใดๆ ที่มักจะเกี่ยวข้องกับสเต็มเซลล์ในเลือดที่ได้รับจากผู้บริจาค "

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยกล่าวว่า ระยะเวลาและค่าใช้จ่ายของเทคโนโลยี เป็นอุปสรรคที่จะต้องเอาชนะให้ได้ แต่ครอบครัว มหาจันกล่าวว่า การักษาวิธีนี้ มันช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิต คนป่วยอย่างไรยา



คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 



บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 


Share