ออสฯ ทดลองรักษาเบาหวานชนิดที่ 1 ด้วยยาครั้งแรกของโลก

A blood glucose measurement is carried out

A blood glucose measurement is carried out Source: Getty

Get the SBS Audio app

Other ways to listen

การทดลองยารักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ในมนุษย์เป็นครั้งแรกของโลกกำลังจะเริ่มต้นขึ้นในออสเตรเลีย นักวิทย์ฯ พบตัวยาสำคัญที่อาจลดความจำเป็นในการฉีดอินซูลินเข้าทางผิวหนัง


LISTEN TO
Trial begins of new type 1 diabetes treatment that could cure the disease image

ออสฯ ทดลองรักษาเบาหวานชนิดที่ 1 ด้วยยาครั้งแรกของโลก

SBS Thai

16/11/202004:58
เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา คุณลิบบี โรส (Libby Rose) ได้รับ ผลการวินิจฉัยว่า เธอเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดนั้น กลายเป็นกิจวัตรประจำวันของเธอ

“มันลำบากมาก ฉันอยากกลับไปเป็นวัยรุ่นที่ไร้ความกังวลอีกครั้ง มันเป็นเรื่องที่จัดการได้ แต่มันก็เป็นเรื่องยาก เมื่อรู้ว่าเพื่อน ๆ ของฉันจะกินอะไรก็ได้ โดยไม่ต้องคิดอะไร แต่สำหรับฉันแล้ว ก็จะต้องคิดถึงเรื่องน้ำตาลในเลือดอยู่ตลอดเวลา” คุณโรสกล่าว

มีชาวออสเตรเลียประมาณ 120,000 คน ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งเป็นความผิดปกติทางภูมิคุ้มกัน เมื่อเซลล์ที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลินในตับอ่อน ถูกภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลาย

การทดลอง โดยสถาบันวิจัยทางการแพทย์เซนต์วินเซนต์ (St Vincent's Institute of Medical Research) ในนครเมลเบิร์น ได้เริ่มขึ้นเพื่อทดสอบการรักษาที่มุ่งลดการทำลายเซลล์ที่ใช้ผลิตอินซูลินในร่างกาย

ศาสตราจารย์เฮเลน โทมัส (Prof Helen Thomas) ผู้ร่วมวิจัยในครั้งนี้ กล่าวว่า การทดลองดังกล่าว อาจนำไปสู่การที่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีความจำเป็นในการรับฮอร์โมนอินซูลินที่ลดลง

“หลังจากการวินิจฉัย เราพบว่า ผู้ป่วยยังคงมีเซลล์ในร่างกายจำนวนหนึ่งที่ยังคงสามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้บางส่วน เพียงแต่มันไม่พอที่จะผลิตในระดับที่ร่างกายต้องการ และเซลล์เหล่านั้นมีความสำคัญที่เราต้องปกป้อง และนั่นคือสิ่งที่เราหวังว่าจะทำได้” ศาสตราจารย์โทมัส กล่าว

รักษาเซลล์ผลิตอินซูลินที่ยังหลงเหลือไม่ให้ถูกทำลาย

โดยตัวยาที่กำลังจะได้รับการทดสอบในมนุษย์นั้น มีชื่อว่า “บาริซิทนิบ (Baricitnib)”

ศาสตราจารย์ทอม เคย์ (Prof Tom Kay) ผู้นำและผู้ร่วมการวิจัยในครั้งนี้ กล่าวว่า ตัวยาดังกล่าวได้มีการนำไปใช้ในการรักษาโรคเกี่ยวกับความผิดปกติด้านภูมิคุ้มกันอื่น ๆ รวมถึงโรคไขข้ออักเสบ

“เนื่องจากตัวยานี้มีอยู่แล้วในท้องตลาด มีการนำไปใช้ในเด็กสำหรับการรักษาโรคอื่น ๆ และเนื่องจากตัวยาดังกล่าวมีความต้านทานกับสารชนิดอื่น รวมถึงมีผลข้างเคียงน้อย การนำมาใช้ในทางคลินิกนั้นน่าจะเป็นเรื่องง่ายกว่าวิธีอื่น ๆ ที่เราต้องสร้างตัวยาขึ้นมาใหม่ตั้งแต่ต้น” ศาสตราจารย์เคย์ กล่าว    

โดยการทดลองตัวยาดังกล่าว ซึ่งมีชื่อการทดลองว่า BANDIT ต้องการผู้เข้าร่วมการทดลอง 83 คน ในนครเมลเบิร์นและแอดิเลด ที่มีอายุระหว่าง 12-30 ปี และได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ในรอบ 100 วันที่ผ่านมา

ผลช้างเคียงต่อร่างกายจากการรักษาด้วยอินซูลิน

มีการใช้ฮอร์โมนอินซูลินในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 มาเกือบ 100 ปีจนถึงขณะนี้ แต่ พญ.โดโรทา พาวแล็ก (Dorota Pawlak) หัวหน้าเจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์ จากมูลนิธิวิจัยโรคเบาหวานในเยาวชนออสเตรเลีย (JDRF) กล่าวว่า การรักษาด้วยการใช้ฮอร์โมนอินซูลินนั้น มีความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงในระยะยาว 

“ผลข้างเคียงเหล่านั้น ได้แก่ความเสียหายต่อดวงตา ไต ระบบประสาท รวมถึงมีผลที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าระยะยาว และปัญหาทางสุขภาพจิตอื่น ๆ ที่ตามมา จากการจัดการภาวะอาการป่วยที่มีความยากลำบากนี้ไปตลอดชีวิต” พญ.พาวแล็ก กล่าว

โดยการทดลองทางคลินิกดังกล่าว คาดว่าจะใช้เวลาราว 2 ปี


รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 
เรื่องราวที่น่าสนใจจากเอสบีเอส ไทย

SA จะเปิดพรมแดนให้ VIC ในอีกไม่ถึงสามสัปดาห์


Share