คำถามของชุมชนไทย จากเหตุกราดยิงที่หนองบัวลำภู

รูปกราฟฟิกไว้อาลัยเหตุกราดยิง ที่หนองบัวลำภู

รูปกราฟฟิกไว้อาลัยเหตุกราดยิง ที่หนองบัวลำภู Credit: Lekha Facebook Page

Get the SBS Audio app

Other ways to listen

จากเหตุกราดยิงที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดหนองบัวลำภู ในประเทศไทย เอสบีเอสไทยพูดคุยกับคนไทยที่เป็นคุณแม่ในออสเตรเลียสองท่าน และคุณพ่อคนไทย รวมถึงผู้ที่ทำงานอยู่ในศูนย์ดูแลเด็กในออสเตรเลีย รวมถึงเสียงบรรยากาศงานจุดเทียนไว้อาลัย ที่เมืองเมลเบิร์น


เหตุการณ์กราดยิงที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลอุทัยสวรรค์ อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2565 นับเป็นเหตุการณ์อันเศร้าสลดในประเทศไทยและทั่วโลก

เอสบีเอสไทยสอบถามคุณพ่อคุณแม่คนไทยถึงความรู้สึกและความคิดเห็น หลังจากทราบข่าวนี้
คุณณัชาอรและลูกสาว
คุณณัชาอรและลูกสาว Credit: Natchaorn
คุณณัชาอร (แนท) คุณแม่คนไทยในเมลเบิร์น มีลูก 2 คน คุณแนทใช้บริการดูแลเด็กเล็ก (Day care) ทั้งที่ออสเตรเลียและไทย เธอพูดถึงเรื่องความปลอดภัย การถือครองอาวุธของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเรื่องความรุนแรงในครอบครัว
ทุกครั้งที่เอาลูกไปไทย เพราะทุกครั้งเวลาเราไปไทยจะไปประมาณ 2-3 เดือน จะต้องเอาลูกไปไว้ที่เดย์แคร์อยู่แล้ว
“รัฐต้องใช้วิธีบังคับ ด้วยเหตุว่าเป็นภัยต่อสังคม แล้วยิ่งคนที่อยู่ในเครื่องแบบ แล้วมีอาวุธอยู่กับตัว ยิ่งน่าจัดการกว่าคนอื่นเลย”

คุณอุ๊ คุณแม่คนไทยที่ซิดนีย์ เธอมีลูกชายอยู่ที่ประเทศไทย คุณอุ๊พูดถึงเรื่องความปลอดภัย เรื่องพระราชบัญญัติอาวุธปืนและยาเสพติดว่า
คือล่าสุด เพิ่งไปไทยแล้วกลับมา รู้สึกว่า แม้กระทั่งแค่ข้ามถนน อะไรเงี๊ยะ ความปลอดภัยแค่เล็กๆ น้อยๆ ยังไม่มีเลย
“เราได้เห็นข่าวเหมือนเค้าจะมีพรบ.ปืนออกมา เหมือนมันจะเสรีมากขึ้น เราก็เลยคิดว่า เออ แล้วมันจะดีไหม ในอนาคต"
คุณอาเนช (ฉั่ง) คุณพ่อที่อยู่ประเทศไทย
คุณอาเนช (ฉั่ง) คุณพ่อที่อยู่ประเทศไทย Credit: Arnate Weschawalit
คุณอาเนช เวศย์ชวลิต (ฉั่ง) คุณพ่อคนไทยพูดถึงเหตุการณ์นี้ไว้ในเรื่องความปลอดภัย การจัดการของเจ้าหน้าที่ และเรื่องความรุนแรงในครอบครัว
ทำไมมันถึงเกิดขึ้นได้ง่ายขนาดนั้น และหลังจากเกิดเหตุแล้วระยะเวลาในการจัดการของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเนี่ย มันถึงใช้เวลาขนาดนั้น จนเกิดเหตุขึ้นมากมาย
“อย่างเหตุกราดยิงที่ผ่านมา รวมถึงก่อนหน้านี้ที่โคราช ทั้งสองครั้งล่าสุดเป็นบุคลากรของรัฐ คำถามคือหลังจากคุณได้รับเค้าเข้ามาแล้ว คุณมีการตรวจสอบหรือว่าอัปเดตประสิทธิภาพ ศักยภาพ หรือความพร้อมในการทำงานของเค้าหรือเปล่า"
คุณพัชรา (มิ้ม)
คุณพัชรา (มิ้ม) Credit: Patchara
คุณพัชรา (มิ้ม) คุณแม่คนไทย และทำงานที่ศูนย์ดูแลเด็ก ในออสเตรเลีย พูดถึงเรื่องของความปลอดภัยและการดูแลเด็ก
ปกติถ้ามีลูกอยู่ในศูนย์เด็กเล็ก เค้าจะมีรหัสผ่านตรงหน้าประตู จะมีฟอร์มให้กรอกว่าใครสามารถที่จะมารับลูกเราได้บ้าง
“ถ้าเกิดว่าเราได้กลิ่นหรือสังเกตอาการมึนเมา เราจะรีบแจ้งตำรวจทันทีเลยค่ะ แล้วก็ต้องส่งเรื่องไปหน่วยงานปกป้องเด็ก (Child Protection)”


บริการให้ข้อมูลและให้ความช่วยเหลือเรื่องสุขภาพจิต 24 ชั่วโมง Beyond Blue 1300 224 636 หรือ


บริการสำหรับผู้ที่ประสบปัญหาทางอารมณ์ 24 ชั่วโมง Lifeline โทร 13 11 14 หรือ 

บริการให้คำปรึกษาแก่ผู้ชายที่มีปัญหาเรื่องอารมณ์รุนแรง ความสัมพันธ์และการเลี้ยงดูบุตร 24 ชั่วโมง No To Violence 1300 766 491  

บริการปรึกษาสำหรับกลุ่มความหลากหลายทางเพศ  โทร 1800 184 527

บริการให้คำปรึกษาแก่ผู้เยาว์ 24 ชั่วโมง Kids Helpline โทร 1800 55 1800 หรือ  

บริการให้คำปรึกษาป้องกันการฆ่าตัวตายและสุขภาพจิต เป็นบริการโทรกลับ Suicide Call Back Service โทร 1300 659 467

Share