คุณจะเอาตัวรอดจากการจมน้ำได้อย่างไร

Authorities are pleading with swimmers to caution when they are around by water

องค์กรต่างๆ เตือนให้ผู้คนระวังตัวในการเล่นน้ำเนื่องมาจากสถิติการเสียชีวิตจากการจมน้ำเพิ่มสูงขึ้น Source: Pixabay

Get the SBS Audio app

Other ways to listen

สถิติคนเสียชีวิตจากการจมน้ำพุ่ง หน่วยงานต่างๆ ออกโรงเตือนให้คนระวังตัวมากขึ้น


กดปุ่ม 🔊 ด้านบนเพื่อฟังรายละเอียดเรื่องคุณจะเอาตัวรอดจากการจมน้ำได้อย่างไร

ออสเตรเลียเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อในเรื่องการมีชายหาดสวยงาม แต่หลายครั้งที่ชายหาดที่มีชื่อเสียงหลายแห่งกลับกลายเป็นสถานที่ที่เกิดโศกนาฏกรรม

คุณ สเตซี พิดจีออน จากชมรมกู้ชีพทางน้ำแห่งออสเตรเลีย (The Royal Life Saving Society Australia) เปิดเผยว่า ปีที่แล้วมีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำทั่วออสเตรเลียเป็นจำนวนถึง 276 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 10 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา และบ่อยครั้งผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์จมน้ำจะเป็นคนย้ายถิ่น หรือคนที่เพิ่งย้ายมาอยู่ที่ออสเตรเลีย” คุณ สเตซี พิดจีออน ชี้

สาเหตุที่ทำให้คนเสียชีวิตจากการจมน้ำ

สาเหตุหลักๆ คือประการแรก คนไม่ได้คิดถึงเรื่องความอันตรายของชายหาด และว่ายน้ำไม่เป็น  ประการที่สองคือ การรับประทานเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างเล่นน้ำ และประการสุดท้ายคือ การไม่ปฏิบัติตามกฎของชายหาด  คุณ สเตซี พิดจีออน อธิบายในเรื่องนี้ว่า

“เราเข้าใจว่า กิจกรรมสันทนาการใกล้แหล่งน้ำอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ผู้คนที่มาจากหลากวัฒนธรรมคุ้นเคย แต่เมื่อพวกเขาย้ายมาอยู่ในออสเตรเลีย พวกเขาก็อยากจะใช้ชีวิตแบบคนออสเตรเลียแต่ยังขาดทักษะหรือประสบการณ์ที่จะป้องกันตัวเองอย่างไรให้ปลอดภัยเมื่ออยู่ใกล้แหล่งน้ำ ส่วนแอลกอฮอล์นั้นเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้คนเสียชีวิตจากการจมน้ำมากขึ้น”

ส่วนคุณ คลินตัน โรส ผู้จัดการชายหาดหลายแห่งในเทศบาล Northern Beaches ซึ่งมีชายหาดที่มีชื่อเสียงสำหรับการเล่นเซิร์ฟ เช่น ชายหาด Manly surf beach เขากล่าวว่า ชายหาดมีกฎระเบียบที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามเพื่อความปลอดภัยต่อชีวิต เขาเตือนว่า

“คุณต้องเล่นน้ำภายในบริเวณที่มีธงปักอยู่เท่านั้น ถ้าคุณไม่เห็นธงปักอยู่ในบริเวณนั้นอย่าลงไปว่ายน้ำเล่น และทางที่ดีคุณควรจะหัดว่ายน้ำด้วย ถ้าคุณมีข้อสงสัยว่าบริเวณนี้ปลอดภัยที่จะเล่นน้ำหรือไม่ คุณสามารถสอบถามยามชายฝั่งได้” คุณ คลินตัน โรส แนะนำ
water saftety
คุณต้องเล่นน้ำภายในบริเวณที่มีธงปักอยู่เท่านั้นหรือสอบถามยามชายฝั่ง Source: Pixabay
คุณควรทำอย่างไรเมื่อกำลังจะจมน้ำ

การจมน้ำเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเร็วมาก แม้กระทั่งผู้ใหญ่ก็สามารถหมดสติได้ในเวลาแค่เพียงหนึ่งนาที และนี่ก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำไมคุณต้องร้องขอความช่วยเหลือทันที  คุณ คลินตัน โรส แนะนำว่า

  1. อย่าตื่นตระหนก เพราะสมองจะสั่งการว่าคุณต้องการออกซิเจนและทำให้คุณคิดอะไรไม่ออก
  2. ถ้าคุณรู้สึกว่ากำลังจะจมน้ำ คุณต้องพยายามนอนหงายลอยตัวนิ่งๆ ให้นานที่สุด
  3. ชูมือขึ้นให้พ้นน้ำและตะโกนร้องขอความช่วยเหลือ
สาเหตุอื่นๆที่ทำให้คุณจมน้ำได้

คุณ เกอนัม ซิงค์ ซึ่งเป็นผุ้ก่อตั้งสมาคม Australian Indian Sports, Educational and Cultural Society  เปิดเผยว่าการเล่นน้ำก็ไม่ใช่สาเหตุเดียวที่ทำให้เกิดความเสี่ยงในการจมน้ำ แต่กิจกรรมเช่นการถ่ายรูปเซลฟี่ หรือ ถ่ายรูปวิว ก็ทำให้คุณตกความเสี่ยงเช่นกัน เขาเล่าว่า

“ผมจำได้ว่าปีที่แล้วมีคนถ่ายรูปเซลฟี่่แล้วตกลงไปในน้ำลึกและเสียชีวิตด้วย เพื่อความปลอดภัย คุณต้องจำกฎสำคัญของชายหาดให้ได้ ถ้าคุณไม่แน่ใจ ก็อย่าเข้าไปในบริเวณนั้น”  คุณ เกอนัม ซิงค์ เปิดเผย
มีกิจกรรมอะไรอีกบ้างที่เสี่ยงต่อการจมน้ำ

การตกปลาบริเวณโขดหินก็เป็นกิจกรรมหนึ่งที่เป็นที่นิยมในหมู่สมาชิกของชุมชนหลากวัฒนธรรม แต่การตกปลาบริเวณโขดหินนี้ได้รับสมญานามว่าเป็นกิจกรรมสันทนาการที่อันตรายที่สุดในออสเตรเลียเพราะว่านักตกปลาเหล่านี้ต้องไปยืนในบริเวณที่มีกระแสน้ำเชี่ยว คลื่นแรง ประกอบกับมีความลื่นของโขดหิน ทำให้แต่ละปีมีนักตกปลาที่ไม่ชำนาญเสียชีวิตหลายคน แต่เราจะป้องกันความเสี่ยงในการจมน้ำจากกิจกรรมนี้ได้อย่างไร  คุณ สเตซี  พิดจีออนให้คำแนะนำว่า

“คุณควรจะสวมเสื้อชูชีพทุกครั้งที่ออกไปตกปลา ไม่ว่าจะตกปลาบนเรือหรือตามบริเวณโขดหินก็ตาม คุณไม่มีทางรู้ว่าเมื่อไหร่ที่คุณจะพลาดลื่นตกลงไปในน้ำและเสื้อชูชีพสามารถช่วยชีวิตคุณได้”  คุณ สเตซี พิดจีออน แนะนำ
Dhagax korkii oo laga jillaabtaa waa khatar
การตกปลาบริเวณโขดหินขึ้นชื่อว่าเป็นกิจกรรมสันทนาการที่อันตรายที่สุดในออสเตรเลีย Source: Pixabay
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการป้องกันการจมน้ำ

 Child health and safety: Drowning prevention

 Activities and Equipment-It’s all about water safety

 Drowning reports

กดปุ่ม 🔊 ด้านบนเพื่อฟังรายละเอียดเรื่องคุณจะเอาตัวรอดจากการจมน้ำได้อย่างไร

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 


 

 


Share