งานวิจัยเผยปัจจัยผลักกลุ่มผู้อพยพฯเข้าไม่ถึงความช่วยเหลือทางกฎหมายช่วงโควิด19

Australian Open Djokovic

A refugee advocate writes a slogan on the wall outside the Park Hotel, used as an immigration detention hotel Source: AAP / Mark Baker/AP

Get the SBS Audio app

Other ways to listen

งานวิจัยชิ้นใหม่จากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นเผยให้เห็นว่าช่วงการระบาดของโควิด 19 ผ่านมา กลุ่มผู้อพยพย้ายถิ่นและกลุ่มผู้ลี้ภัยต้องเผชิญหน้ากับอุปสรรคในการเข้าถึงบริการด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมมากขึ้นกว่าเดิม


ประเด็นสำคัญ
  • งานวิจัยชิ้นใหม่จากม.เมลเบิร์นเผยช่วงโควิด-19 กลุ่มผู้ลี้ภัยเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมยากขึ้น
  • ทั้งยังพบอีกว่าในชุมชนผู้ลี้ภัย ต้องเผชิญหน้ากับความรุนแรงในครอบครัวที่เพิ่มมากขึ้น หลายครอบครัวอยู่ในภาวะจำยอม
  • ผู้อพยพฯ บางคนไม่กล้าขอความช่วยเหลือเพราะกลัวว่าจะสูญเสียวีซ่าไป

กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

งานวิจัยชิ้นใหม่จากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นเผยให้เห็นว่าช่วงการระบาดของโควิด-19นั้น สถานการณ์การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของกลุ่มผู้ลี้ภัยและกลุ่มผู้อพยพย้ายถิ่น กลับยิ่งเลวร้ายลง

งานวิจัยชิ้นนี้ระบุว่าอุปสรรคที่พวกเขาต้องพบเจอ เช่น ความโดดเดี่ยวในช่วงล็อคดาวน์ การเข้าถึงความช่วยเหลือทางกฎหมายและบริการต่างๆ มีเพิ่มมากขึ้น

งานวิจัยยังชี้อีกว่าช่วงการล็อคดาวน์นั้น ผู้อพยพย้ายถิ่นหลายคนในเมลเบิร์นซึ่งอาศัยอยู่ในอาคารที่ทางหน่วยงานรัฐจัดสรรให้ ไม่ได้รับความช่วยเหลือขั้นพื้นฐานอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งไม่ได้รับการสื่อสารที่ชัดเจนจากหน่วยงานที่ดูแล ซ้ำร้ายพวกเขากลับถูกสอดแนมจากตำรวจเพิ่มขึ้นกว่าเดิม
New Zealand Australia Refugees
FILE- Police guard outside the refugee detention hotel, the Park Hotel in Melbourne, Australia, Saturday, Jan. 8, 2022. Source: AP / Hamish Blair/AP/AAP Image
เจนนิเฟอร์ บาลินต์ ศาสตราจารย์จากภาควิชาสังคมวิทยา หัวหน้าสาขาสังคมศาสตร์และรัฐศาสตร์ ผู้ทำวิจัยชิ้นนี้กล่าวว่า การค้นพบดังกล่าวนั้นเป็นหนึ่งในความล้มเหลวที่พวกเขาพบ

"สิ่งพื้นฐานง่ายๆ อย่างการใช้ล่าม ก็ยังพบว่ามีความล้มเหลว ซึ่งน่าประหลาดใจจริงๆ การที่ชุมชนเหล่านี้ถูกตัดขาดจากหน่วยงานที่ดูแล รวมทั้งการสอดแนมในช่วงเวลานั้น การปฏิบัติที่แตกต่าง การที่ผู้นำชุมชนไม่ได้มีส่วนร่วมการตัดสินใจ มิหน่ำซ้ำยังถูกผลักให้พวกเขาตัดสินใจกันเอง"
ความหวาดกลัวและบาดแผลทางจิตใจนั้นเกี่ยวโยงกับการบังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่มีการตรวจเข้มของตำรวจเพิ่มมากขึ้น ซึ่งยิ่งสร้างอุปสรรคเพิ่มเติม

ศาสตราจารย์ บาลินต์ กล่าวว่า ประเด็นที่ถูกนำเสนอในงานวิจัยชิ้นนี้เป็นสิ่งที่ท้าทายต่อกลุ่มผู้อพยพย้ายถิ่นอยู่ก่อนแล้ว และยิ่งเพิ่มขึ้นในช่วงการระบาด

สิ่งเหล่านี้คืออุปสรรคที่มีมานานแล้วแต่เพิ่งเผยให้เห็นชัดขึ้น ไม่ใช่เพียงเฉพาะกับผู้ที่เผชิญหน้ากับมันโดยตรงเท่านั้น นอกจากนี้ สิ่งสำคัญจริงๆ ก็คือเมื่อมีการติดตาม สร้างความร่วมมือและทำงานร่วมกัน สิ่งต่าง ๆ ก็เริ่มดีขึ้นมาก ที่น่าสนใจและบอกได้ชัดเจนมากก็คือ สำหรับหน่วยงานที่รับผิดชอบหลายราย พวกเขาตระหนักดีว่า วิธีการที่พวกเขานั้นไม่ได้ผล พวกเขาจำเป็นต้องเลิกการควบคุม จำเป็นต้องเห็นคุณค่าของความเชี่ยวชาญของชุมชน และเน้นไปที่ความเชี่ยวชาญนั้น
เจนนิเฟอร์ บาลินต์ ศาสตราจารย์จากภาควิชาสังคมวิทยา หัวหน้าสาขาสังคมศาสตร์และรัฐศาสตร์
งานวิจัยยังพบด้วยว่า สภาพความเป็นอยู่ในสถานกักกันนั้นเลวร้ายลงอย่างมากในช่วงล็อคดาวน์ อย่างกรณีผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยถูกกักกันในโรงแรมปาร์คในเมลเบิร์น

โรงแรมแห่งนี้ถูกได้รับความสนใจทันทีหลังจากเชื้อโควิด-19 ได้แพร่ระบาดเป็นวงกว้างในหมู่ผู้พักอาศัย ซึ่งหลายคนยังไม่เคยได้รับวัคซีน นักรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชนบางคนเรียกว่าสถานที่นี้ว่า "ศูนย์เพาะเชื้อโควิด"

LISTEN TO
COVID MIGRANTS THA final  image

งานวิจัยเผยปัจจัยผลักกลุ่มผู้อพยพฯเข้าไม่ถึงความช่วยเหลือทางกฎหมายช่วงโควิด19

SBS Thai

23/11/202305:44
งานวิจัยเผยด้วยว่า ในชุมชนผู้ลี้ภัยและผู้อพยพย้ายถิ่น พวกเขาต้องเผชิญหน้ากับความรุนแรงในครอบครัวที่เพิ่มมากขึ้น และยิ่งเลวร้ายลงไปอีกเมื่อพวกเขาไม่สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือทางกฎหมาย หลายครอบครัวที่เผชิญหน้ากับความรุนแรงทำอะไรไม่ได้เลย นอกจากการยอมรับสภาพ และทนอยู่ต่อไป

สิ่งสำคัญที่งานวิจัยชิ้นพยายามชี้ให้เห็นคือ การที่หน่วยงานที่รับผิดชอบต้องทำงานร่วมกันชุมชนผู้ลี้ภัยเพื่อทำความเข้าใจอุปสรรคที่พวกเขาพบเจอและพาพวกเขาก้าวข้ามมันไปให้ได้
NSW CORONAVIRUS COVID-19
People wear face masks as they walk through Lakemba, in Sydney, Monday, August 16, 2021. Source: AAP / BIANCA DE MARCHI/AAPIMAGE
ศาสตราจารย์บาลินต์กล่าวว่า การเข้าถึงความช่วยเหลือทางกฎหมายและทางสังคมนั้นควรเป็นของทุกคน

ด้าน InTouch ซึ่งเป็นศูนย์ความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงในครอบครัว ตั้งอยู่ในนครเมลเบิร์น องค์กรนี้ให้บริการแบบครบวงจรสำหรับผู้อพยพย้ายถิ่นและผู้ลี้ภัยที่เผชิญกับความรุนแรงในครอบครัว

อายสลัช ซิสโควิช ทนายความประจำศูนย์ InTouch กล่าวว่าลูกค้าของพวกเขาอยู่ด้วยความหวาดกลัว โดยบางคนไม่กล้าขอความช่วยเหลือเพราะกลัวว่าจะสูญเสียวีซ่าไป

ไม่ใช่ลูกค้าของเราทุกคนที่สามารถติดต่อเราได้เพราะพวกเขาใช้ชีวิตด้วยความกลัว ฉันคิดว่า 40% ของลูกค้าของเราถือวีซ่าชั่วคราว ดังนั้นจึงมีความกลัวอีกชั้นหนึ่งว่า หากฉันขอความช่วยเหลือหรือถ้าฉันไปที่ไหนสักแห่งฉันอาจถูกยกเลิกวีซ่า นั่นคือข้อกังวลที่ลูกค้าของเรามี ก็คือการละเมิดวีซ่า ข้อเสียเปรียบด้านวัฒนธรรมและภาษาที่พวกเขามีระหว่างการปิดเมืองนั้นเป็นเรื่องยากจริง ๆ สำหรับลูกค้าของเรา
อายสลัช ซิสโควิช


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 


Share