คะแนนโหวต No นำโผโพลการลงประชามติ Voice ในสัปดาห์สุดท้าย

Road to Referendum image (SBS).jpg

Source: SBS

Get the SBS Audio app

Other ways to listen

ในสัปดาห์สุดท้ายของการรณรงค์ก่อนการลงประชามติ Indigenous Voice to Parliament ซึ่งจะมีขึ้นในวันเสาร์ที่ 14 ตุลาคมนี้ ประชากรออสเตรเลียจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะสนับสนุนให้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญให้รับรองชนพื้นเมืองและจัดตั้งคณะกรรมการของชาวอะบอริจินและชาวเกาะช่องแคบทอร์เรสหรือไม่ โพลสำรวจความคิดเห็นเผยจำนวนผู้ที่จะโหวต No เพิ่มขึ้นมาก


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

การลงประชามติเสียงของชนพื้นเมืองสู่สภาหรือ Indigenous Voice to Parliament จะมีขึ้นในวันเสาร์ที่ 14 ตุลาคมนี้ ประชากรออสเตรเลียจะเป็นผู้ออกเสียงว่าจะสนับสนุน (Yes) หรือไม่สนับสนุน (No) ข้อเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อรับรองชนชาติแรกของออสเตรเลีย โดยให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเสียงชนพื้นเมืองชาวอะบอริจินและชาวเกาะช่องแคบทอร์เรส

ในสัปดาห์สุดท้ายของการรณรงค์ โพลสำรวจความคิดเห็นระบุว่าจำนวนผู้สนับสนุนให้ออกเสียง No เพิ่มมากขึ้น

คุณแพท คัลลาแนน (Pat Callanan) จากคณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งออสเตรเลีย (Australian Electoral Commission) กล่าวว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นในวันเสาร์นี้เป็นสิ่งสำคัญ

“นี่คืองานใหญ่ของการขนส่งในออสเตรเลีย เป็นงานที่ใหญ่มาก เราเชี่ยวชาญเรื่องนี้ดีเพราะเรามีการเลือกตั้งทุกๆ 3 ปี และการลงประชามติเป็นการทำงานงานที่คล้ายกัน รวมถึงการจัดหาทรัพยากรให้แก่ศูนย์เลือกตั้งและคูหาลงคะแนนเสียงในบริเวณตัวเมืองและแถบภูมิภาค เรายังมีการออกเสียงทางไกลด้วย เราอยู่ทั่วประเทศและทำงานเพื่อให้แน่ใจว่าทุกคนสามารถออกเสียงได้ รวมถึงชุมชนที่อยู่ห่างไกล ซึ่งต้องใช้ความพยายามอย่างมาก บางครั้งเราต้องใช้เรือ เครื่องบินขนาดเล็ก หรือเฮลิคอปเตอร์เพื่อลำเลียง”
การนับคะแนนจะเริ่มต้นทันทีที่คูหาลงคะแนนปิด คุณคัลลาแนนกล่าวว่ามีโอกาสที่ผลการลงประชามติจะไม่เป็นเอกฉันท์ภายในคืนวันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม เนื่องจากต้องรอการออกเสียงของประชาชนที่ลงทะเบียนออกเสียงทางไปรษณีย์อย่างน้อย 1.2 ล้านคน
มันเป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาว่าจะเกิดอะไรขึ้น
"แต่ผมสามารถบอกกับผู้ที่รอผลว่าอาจจะยังไม่สามารถสรุปได้ในคืนนั้น เหตุผลเพราะการออกเสียงทางไปรษณีย์จะใช้เวลานานกว่าเล็กน้อย ตามกฎหมายแล้วเราต้องรอเอกสารการออกเสียงทางไปรษณีย์เป็นเวลา 13 วัน”

การลงประชามติที่จะประสบความสำเร็จต้องได้รับ “เสียงข้างมากสองระดับ” นั่นคือได้รับเสียงข้างมากของประชากรในระดับประเทศและเสียงข้างมากในระดับรัฐ

ศาสตราจารย์ แอน ทูมีย์ (Anne Twomey) จากมหาวิทยาลัยซิดนีย์กล่าวว่าแม้การลงประชามติครั้งนี้จะได้รับเสียงข้างมากสองระดับ แต่ก็ยังคงใช้เวลาหลายปีกว่าที่โครงการว๊อยซ์ (Voice) จะกลายเป็นความจริง

“เรื่องนี้อาจต้องใช้เวลาสักหน่อย อาจจะเป็นปี หรือนานกว่านั้น ฉันคาดว่ารัฐบาลของนายอัลบานีซีจะต้องการที่จะทำให้สำเร็จในช่วงวาระที่เป็นรัฐบาลเพื่อให้แน่ใจว่าได้ดำเนินโครงการนี้ได้เสร็จสิ้น ในอดีตนั้นการจัดตั้งองค์กร เช่น ศาลสูงแห่งออสเตรเลีย ใช้เวลาหลายปีนับตั้งแต่จุดที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีองค์กรเหล่านี้”
Uluru
ธงของชนพื้นเมืองมีอูลูรูอยู่เบื้องหลัง Source: AAP / AAP Image/Lukas Coch
คุณคัลลาแนนกล่าวว่าประชากรออสเตรเลียหลายล้านคนไม่เคยออกเสียงในการลงประชามติมาก่อน และ AEC มีคำตอบเกี่ยวกับกระบวนการนี้
ผมคิดว่า ด้วยความจริงที่ว่าเราไม่มีการลงประชามติมาเป็นเวลานาน มันจึงมีความสับสนและมีคำถามมากมายว่าการลงประชามติแท้จริงแล้วคืออะไร
"หนึ่งในหลายสิ่งที่เราได้เห็นในปีนี้คือคำถามที่ว่าการลงประชามติเป็นเรื่องจำเป็นหรือไม่ คำตอบก็คือใช่ และผลลัพธ์ก็เช่นกัน คุณต้องลงประชามติอีกครั้งเพื่อเปลี่ยนแปลงผลของการลงประชามติก่อนหน้านี้ และการลงประชามติเป็นภาคบังคับด้วย ดังนั้นคุณต้องเข้าร่วมและออกเสียงด้วยวิธีใดก็ได้ มันไม่ได้แตกต่างจากการเลือกตั้งระดับสหพันธรัฐเท่าไหร่”

อย่างไรก็ตาม โพลผลการสำรวจขณะนี้ชี้ว่าฝ่ายที่สนับสนุนให้ออกเสียง No ได้รับเสียงสนับสนุนมากกว่า โพลอย่างเช่นของ Roy Morgan ซึ่งสอบถามประชาชนระหว่างวันที่ 25 – 30 กันยายนเผยผลสำรวจเมื่อวันที่ 5 ตุลาคมระบุว่า 46 เปอร์เซ็นต์จะโหวต No เทียบกับผู้ที่จะโหวต Yes ซึ่งมี 37 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่อีก 17 เปอร์เซ็นต์ยังคงไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะโหวตอย่างไร


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share