การกำจัดเสื้อผ้าให้ถูกวิธี

Australia Explained: Clothing Waste - Woman folding laundry

การบริจาคเสื้อผ้าที่คุณมีจะช่วยลดขยะฝังกลบได้ Credit: Cavan Images/Getty Images

Get the SBS Audio app

Other ways to listen

ทุกปีมีเสื้อผ้ากลายเป็นขยะกว่า 200,000 ตันที่ออสเตรเลีย เท่ากับเฉลี่ย 10 กิโลกรัมต่อคน ช่วยกันลดวิกฤตขยะที่เป็นผืนผ้าด้วยการรีไซเคิล บริจาคหรือแลกเปลี่ยนเสื้อผ้าที่คุณไม่ต้องกา


ประเด็นสำคัญ
  • ไม่ควรใส่เสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้วลงในถังขยะรีไซเคิลที่บ้านคุณ
  • ร้านขายเสื้อผ้าบางร้านรับรีไซเคิลเสื้อผ้าที่คุณไม่ใช้แล้ว
  • การนำเสื้อผ้าที่คุณภาพต่ำไปบริจาค จะเป็นค่าใช้จ่ายของร้านค้าการกุศลในการส่งไปเป็นขยะฝังกลบ

กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

วงการแฟชั่นเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สร้างมลพิษสูงที่สุด

สมาพันธ์แฟชั่นออสเตรเลีย (Australian Fashion Council) รายงานว่าเราซื้อเสื้อผ้าชิ้นใหม่โดยเฉลี่ย 56 ชิ้นต่อปี

คือเสื้อผ้าใช้แล้วทิ้งราคาถูกซึ่งผู้ค้าปลีกขนาดใหญ่ผลิตออกมาในจำนวนมากอย่างรวดเร็วเพื่อตามกระแสล่าสุด แฟชั่นประเภทนี้ออกแบบเพื่อให้ลูกค้าซื้อเสื้อผ้าลุคส์ใหม่เป็นประจำ นั่นหมายความว่าเราจะซื้อเสื้อผ้ามากขึ้น เนื่องจากสินค้าจะชำรุด เสียหาย และน่าเบื่อได้ง่าย

การจะกำจัดเสื้อผ้าอย่างมีความรับผิดชอบนั้นทำได้ด้วยการรีไซเคิล (recycle) หรือนำกลับมาใช้ใหม่ (reuse) เพื่อลดขยะฝังกลบ (landfill waste)

คุณรีเบคกา กิลลิง (Rebecca Gilling) ผู้บริหารของแพลเน็ท อาร์ก (Planet Ark) กล่าวว่าการทิ้งในถังรีไซเคิลไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ดี
กฎหลักไม่ใช่การทิ้งเสื้อผ้า รองเท้า ผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดตัว หรือผ้าอื่นๆ ในถังขยะรีไซเคิล
"เพราะถังขยะรีไซเคิลมีไว้สำหรับกระดาษ กระดาษแข็งและบรรจุภัณฑ์ต่างๆ เสื้อผ้าในถังขยะรีไซเคิลไม่ได้นำไปรีไซเคิลผ่านระบบได้ มันจะไปติดกับเครื่องรีไซเคิลและทำให้เครื่องหยุดทำงาน”
เรื่องที่เกี่ยวข้อง

คุณรีไซเคิลถูกต้องหรือไม่?

ยังมีทางเลือกอื่น

คุณสามารถใช้บริการเก็บขยะทางออนไลน์ได้ซึ่งมีค่าธรรมเนียม บริการนี้จะมาเก็บเสื้อผ้าที่คุณไม่ต้องการและจะนำไปรีไซเคิลหรือนำไปใช้ใหม่

ทางเลือกอีกทางหนึ่งคือการบริจาคเสื้อผ้าที่ไม่ต้องการให้แก่องค์กรการกุศล การนำเสื้อผ้าไปหย่อนที่ร้านการกุศลหรือที่เรียกว่า ‘อ็อป ชอป (Op Shop)’ หรือนำไปใส่ถังขยะเสื้อผ้าเพื่อการกุศลไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

ร้านอ็อป ชอป ทั่วออสเตรเลียนั้นมีรายได้เกือบพันล้านดอลลาร์จากการขายเสื้อผ้าที่มีผู้มาบริจาค

อย่างไรก็ตาม คุณกิลลิงกล่าวว่ายังคงต้องระมัดระวังในการบริจาคด้วย

“เราไม่ต้องการให้นำเสื้อผ้าที่สวมใส่ไม่ได้แล้ว ที่ชำรุดหรือล้าสมัยเกินไปมาบริจาค เพราะทางร้านต้องส่งไปเป็นขยะฝังกลบ และนั่นเป็นค่าใช้จ่ายของพวกเขา ปัจจุบันร้านค้าการกุศลต้องเสียเงินประมาณ 13 ล้านดอลลาร์ต่อปีเพื่อกำจัดเสื้อผ้าและสิ่งของที่มีคนนำมาบริจาค คิดเป็นขยะฝังกลบประมาณ 60,000 ตัน”

คุณโอเมอร์ โซเกอร์ (Omer Soker) ผู้บริหารองค์กรรีไซเคิลเพื่อการกุศลแห่งออสเตรเลีย (Charitable Recycling Australia) มีข้อเสนอแนะง่ายๆ ที่สามารถใช้ในการตัดสินใจว่าควรจำแนกเพื่อนำไปให้ร้านการกุศลหรือใส่ในถังขยะรีไซเคิล
สิ่งสำคัญคือของที่นำมาบริจาคต้องมีคุณภาพที่ยังดีอยู่
"หากคุณคิดว่าคุณจะไม่นำสิ่งนี้ไปให้เพื่อนของคุณ ก็อย่านำไปบริจาค เราไม่รับเสื้อผ้าที่ขาด มีรอยเปื้อน หรือของที่เสียแล้ว”
Australia Explained: Clothing Waste - donation bin
ถังรับบริจาคเสื้อผ้าโดยเฉพาะ Source: Moment RF / Andrew Merry/Getty Images
ร้านค้าการกุศลยอดนิยม เช่น ซัลโวส์ (Salvos) วินนีส์ (Vinnies) สภากาชาดออสเตรเลีย (Australian Red Cross) เซฟ เดอะ ชิลเดรน (Save the Children) แองกลิแคร์ (Anglicare) และ บราเทอร์ฮูด ออฟ เซนต์ ลอเรนซ์ (Brotherhood of St Laurence) มีอยู่ทั่วไปในบริเวณตัวเมืองทั่วออสเตรเลีย

เว็บไซต์ขององค์กรรีไซเคิลเพื่อการกุศลแห่งออสเตรเลียมีข้อมูลเรื่องขยะที่เป็นเสื้อผ้าด้วย

“เรามีสิ่งที่คำนวณผลกระทบของการนำมาใช้ใหม่อีกครั้ง คุณสามารถกรอกสิ่งที่คุณจะบริจาคหรือสิ่งที่คุณจะซื้อ และระบบจะแสดงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในแง่การปล่อยก๊าซคาร์บอนหรือน้ำหนัก คุณยังสามารถค้นหาร้านอ็อป ชอปใกล้บ้านคุณผ่านเครื่องมือค้นหาร้านอ็อป ชอป (op shop finder) ในเว็บไซต์ของเรา charitablerecycling.org.au”
หากคุณตัดสินใจว่าคุณจะไม่บริจาคเสื้อผ้า คุณสามารถนำไปใส่ในถังรีไซเคิลเฉพาะได้

ร้านค้าปลีกเสื้อผ้ารายใหญ่หลายแห่งมีโปรแกรมรีไซเคิลเสื้อผ้าที่สำหรับเสื้อผ้าที่คุณไม่ต้องการ บางแห่งอาจรับรองเท้า ผ้าต่างๆ และเครื่องประดับด้วย

“เอชแอนด์เอ็ม (H&M) มีโปรแกรมรีไซเคิลบางแห่งที่รับเสื้อผ้าหรือผ้าในทุกสภาพ ซารา (Zara) ก็มีโครงการรับผ้าบางแห่งเช่นกัน ยูนิโคล่ (Uniqlo) มีโครงการรีไซเคิลเฉพาะสำหรับเสื้อผ้าที่มีตราของร้าน โพทาโกเนีย (Potagonia) มีโปรแกรมแลกเปลี่ยนเสื้อผ้ามือสองซึ่งลูกค้าสามารถนำเสื้อผ้าที่ชำรุดหรือเสียหายมารับเครดิตที่ร้านได้”
Australia Explained: Clothing Waste - Ol wokman oli sortem aot ol klos
อาสาสมัครของเซนต์ วินเซนต์ เดอ พอล โซไซตี้ (St Vincent de Paul Society) จำแนกเสื้อผ้าที่มีคนนำมาบริจาค Source: AFP / PETER PARKS/AFP via Getty Images
คุณสามารถค้นหาร้านที่รับเสื้อผ้ามือสองที่อยู่ใกล้คุณได้ที่ recyclingnearyou.com.au จากนั้นเลือก ‘เสื้อผ้าและผ้าต่างๆ (Clothing and Textiles)’ ตรงนี้คุณสามารถค้นหาด้วยการกรอกรหัสไปรษณีย์ของคุณได้

เทศบาลท้องถิ่นของคุณก็อาจมีการรับเสื้อผ้ามือสองหรือรองเท้ากีฬาด้วย

“แพลเน็ต เอิร์ท (Planet Earth) เป็นองค์กรที่ไม่แสวงกำไรซึ่งทำงานกับชุมชนท้องถิ่นและในต่างประเทศ รวมถึงบริษัทที่จัดหารองเท้าวิ่งเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ให้แก่ผู้ที่ต้องการทั่วโลก มีจุดรับที่รัฐนิวเซาท์เวลส์ วิกตอเรียและควีนส์แลนด์ บางที่ยังรับพื้นรองเท้าชั้นใน (insoles) และเชือกรองเท้าด้วย แต่จะไม่รับพื้นรองเท้าที่หักหรือมีรู”

การแลกเปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นวิธีที่ดี หากคุณกำลังมองหาวิธีประหยัดและมีความรับผิดชอบต่อการอัปเดตเสื้อผ้าในตู้ของคุณ

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเสื้อผ้าได้รับแรงผลักดันจากบริษัท องค์กรและเทศบาลหลายแห่งที่ทำงานร่วมกับผู้จัดอีเวนท์ เช่น เดอะ โคลทธิ่ง เอ็กซ์แชนจ์ (The Clothing Exchange)

คุณอดัม วอร์ลิง (Adam Worling) จากเทศบาลนครซิดนีย์แนะนำ

“โครงการแลกเปลี่ยนเสื้อผ้าที่เราทำกับ เดอะ โคลทธิ่ง เอ็กซ์เชนจ์ ที่ซิดนีย์เป็นวิธีที่ดีสำหรับผู้ที่จะนำเสื้อผ้าที่พวกเขาอาจจะใส่ไม่ได้แล้วหรือไม่ชอบอีกแล้วมาได้ คุณจะได้แขวนเสื้อผ้าเพื่อให้ผู้อื่นเห็น ซึ่งคนอื่นก็จะทำเช่นเดียวกัน จากนั้นคุณก็แลกเสื้อผ้ากัน"
มันอาจทำได้ง่ายๆ เพียงแค่นำเสื้อผ้า 5 ชิ้นมาแลกกับนำออกไป 5 ชิ้น
Australia Explained : Clothing Waste - ol klos long
Ol hangem ol klos long hanga. i gat ol diferen kaen klos mo hanga long wan klos exchange parti. Source: Moment RF / Marissa Powell/Getty Images
คุณสามารถหาการแลกเปลี่ยนครั้งต่อไปได้ที่ clothingexchange.com.au

กิจกรรมเหล่านี้เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่มองหาวิธีสร้างสรรค์และมีความรับผิดชอบ

“นี่เป็นโอกาสที่ดีสำหรับชุมชนในการแก้ปัญหาเรื่องการบริโภคที่มากเกินไปที่เราเจออยู่ในยุคนี้ และยังเป็นโอกาสของผู้ที่ใส่ใจเรื่องเสื้อผ้าเพื่อไม่ให้ถูกส่งไปเป็นขยะฝังกลบ"
สิ่งที่เราทำคือการไม่ให้เสื้อผ้าไปอยู่ที่ในถังขยะ และส่งต่อให้ผู้อื่นที่จะรักมันเหมือนที่คุณเคยรัก
การพิจารณาวงจรชีวิตของเสื้อผ้าก็เป็นสิ่งสำคัญในการส่งเสริม ‘เศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy)’ ซึ่งจะช่วยลดการบริโภค โดยการนำกลับมาใช้ใหม่หรือการรีไซเคิลที่เราสามารถทำได้

สิ่งนี้คือการลดการใช้วัสดุให้น้อยที่สุด

“สิ่งนี้หมายถึงการซื้อเสื้อผ้าที่คุณต้องการจริงๆ และใช้งานให้ได้นาน ซ่อมแซมมัน หรือบริจาคให้ร้านค้าการกุศล หากมันอยู่ในสภาพที่ยังใช้งานได้ดี หากมันมีสภาพแย่หรือต้องทิ้ง หาสถานที่ทิ้งที่เหมาะสม มันเป็นเรื่องของการดูแลสินค้าและเสื้อผ้าให้ดี และบริจาคอย่างมีความรับผิดชอบ”

อ่านหรือฟังเรื่องการตั้งถิ่นฐานในออสเตรเลียได้อีก


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share