คนรุ่น Baby Boomer ร่ำรวยจริงหรือไม่?

Angus Witherby is a city planner who says he can't afford to retire - SBS Insight .jpg

แองกัส วิเธอร์บี กล่าวว่าเขาไม่สามารถเกษียณได้

Get the SBS Audio app

Other ways to listen

1 ใน 6 ของคนรุ่นเบบี้ บูมเมอร์สยังไม่มีบ้านเป็นของตนเอง บางคนยังไม่สามารถเกษียณได้เนื่องจากไม่มีเงินซุปเปอร์เพียงพอ ผู้เชี่ยวชาญชี้ทัศนคติเหมารวมว่าเป็นคนรุ่น ’เงินถุง-เงินถัง’ ไม่ใช่กับทุกคน


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

แองกัส วิเธอร์บี นักวางผังเมือง อายุ 64 ปี เขายังคงผ่อนบ้านไม่หมดและไม่มีเงินซุปเปอร์ (superannuation หรือเงินบำนาญ) เลย

“แน่นอนว่าประสบการณ์ชีวิตของผมแตกต่างจากคนส่วนใหญ่ที่อยู่ในห้องนี้ ผมไม่รวย ผมไม่มีเงินซุปเปอร์ ผมพึ่งพารายได้จากธุรกิจของผม และไม่มีใครให้งานผมในตอนนี้ ผมคาดการณ์ว่าผมต้องทำงานจนอายุ 75 ปี เพื่อผ่อนบ้านให้หมด และผ่อนหนี้อื่นด้วย”
สำนักงานสถิติแห่งออสเตรเลียจัดประเภทคนรุ่นเบบี้ บูมเมอร์สว่าเป็นรุ่นที่เกิดระหว่างปีค.ศ. 1946 – 1964

เมื่อแองกัสอายุสูงขึ้นทุกวันและมีเงินซุปเปอร์ไม่ถึง 3,000 ดอลลาร์ เขาไม่แน่ใจว่าเขาจะหาเลี้ยงตัวเองอย่างไร

เขากล่าว ว่า ทัศนคติเหมารวมคนรุ่นเบบี้ บูมเมอร์สว่าเป็นคนมี ‘เงินถุง-เงินถัง’ สามารถเกษียณด้วยเงินในบัญชีจำนวนมากได้ แต่ไม่ใช่สำหรับเขา

เขาผ่านการหย่าร้างถึง 2 ครั้ง ทำให้เขาเหลือเงินติดลบในบัญชี 2 ครั้งเช่นกัน

แต่การหย่าร้างไม่ใช่สิ่งเดียวที่ให้ผลเสีย แม้ว่าเขาจะทำงานมาตลอดชีวิต
Mental health
ผู้ชายนั่งกุมขมับอยู่ที่โซฟา Source: Getty / Getty Images/Dermot Conlan
เมื่อ 10 ปีที่แล้ว เงินบำนาญของเครก ดอยล์ลดฮวบ หลังจากที่มีคนแนะนำให้เขาแปลงกองทุนซุปเปอร์เป็นการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์แทน ซึ่งเขาคิดว่าจะมั่นคง

เครกมีอสังหาริมทรัพย์ 5 แห่ง ซึ่งมีมูลค่าโดยรวมเกือบ 3 ล้านดอลลาร์ แต่สถานะทางการเงินของเขายังห่างไกลจากความมั่นคง

ในความเป็นจริง อสังหาริมทรัพย์แต่ละแห่งสร้างหนี้มากกว่ากำไร เนื่องจากเงินทุนที่เขาลงไปกับการจำนอง อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น การหยุดเก็บค่าเช่า ภาษีที่ดิน และค่าบำรุงรักษาต่างๆ

ท้ายที่สุด เครกต้องตัดสินใจขายทรัพย์สินของเขา ซึ่งเป็นกองทุนการเกษียณของเขาทีละหลัง

“ผมและภรรยาพบกันในช่วงปลายของชีวิต และเราตัดสินใจลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เมื่อ 10 ปีที่แล้ว เราลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ 3 แห่ง แห่งแรกผ่านนโยบายเงินซุปเปอร์ เราใช้ประโยชน์จากสิ่งนั้น แต่ 4-5 ปีที่ผ่านมา อัตราดอกเบี้ยที่พุ่งสูงขึ้น และราคาอสังหาริมทรัพย์ของเราลดลงตามราคาตลาด เราสูญเงิน 15,000 ดอลลาร์ในแต่ละไตรมาส ในการลงเงินกับอสังหาริมทรัพย์ของเรา ดังนั้นเราจึงต้องตัดสินใจขายอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมด และเราเสียเงินไปแล้ว”

รองศาสตราจารย์ไมร่า ฮามิลทัน จากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ทำการวิจัยเรื่องประชากรสูงวัยของออสเตรเลียและปัญหาที่คนรุ่นเบบี้ บูมเมอร์ต้องเผชิญ

เธอกล่าวว่า แนวคิดว่าคนรุ่นเบบี้ บูมเมอร์เป็นคนรวยไม่จริงเสมอไป

แม้ว่าความมั่งคั่งของพวกเขาจะดูที่มูลค่าสินทรัพย์ แต่ 1 ใน 6 ของคนรุ่นเบบี้ บูมเมอร์ไม่มีบ้านเป็นของตนเอง

นอกจากนี้ ผู้หญิงอายุ 55 ปีขึ้นไปยังเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ประสบปัญหาไร้บ้านเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากอุปสรรคในการหางาน
ฉันคิดว่ามีความแตกต่างในกลุ่มคนรุ่นเบบี้ บูมเมอร์อย่างมาก และฉันคิดว่าส่วนหนึ่งของปัญหาคือการพูดถึงคนรุ่นนี้ว่าเป็นรุ่นที่โชคดีหรือรุ่นที่ร่ำรวย
"หมายความว่ามันปกปิดความไม่เท่าเทียมกันในเรื่องความร่ำรวยและข้อเสียบางอย่าง มีการเหมารวมว่าเบบี้ บูมเมอร์ได้รับสิทธิประโยชน์จากสภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจหลายประการ ขณะที่คนหนุ่มสาวต้องดิ้นรน นั่นเป็นการเชื่อมโยงที่ไม่ถูกต้องระหว่างคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ที่ได้ดีและคนหนุ่มสาวที่ต้องดิ้นรน และฉันคิดว่าไม่ใช่แค่คนรุ่นเบบี้ บูมเมอร์ ที่ร่ำรวยที่ถูกตัดสินแบบนี้ แต่ถูกเหมารวมว่าเป็นคนรุ่นเบบี้ บูมเมอร์ทั้งหมด ไม่ว่าพวกเขาจะรวยจริงหรือไม่ก็ตาม”
New World Record for the Australian Economy
ธนบัตรออสเตรเลีย Source: AAP
นักเศรษฐศาสตร์ อีวาน ลูกา กล่าวว่า แม้จะมีความมั่งคั่งที่แตกต่างกันในรุ่น แต่ก็มีนโยบายที่เป็นประโยชน์กับคนรุ่นเบบี้ บูมเมอร์อย่างมากในช่วงชีวิตของพวกเขา

เงินซุปเปอร์ ภาษีกำไรจากการขาย และเนกาทีฟ เกียริง (negative gearing หรืออัตราหนี้สินต่อทุนในเชิงลบ) ล้วนส่งผลให้คนรุ่นนี้มีความมั่งคั่งประมาณ 1.9 ล้านล้านดอลลาร์

และประมาณร้อยละ 40 ของความมั่งคั่งอยู่ในสินทรัพย์

“สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อคนรุ่นเบบี้ บูมเมอร์ โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของการทำงานของพวกเขาคือการเปลี่ยนระบบภาษี นโยบายของรัฐบาลต้องการให้คุณลงทุนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วยสิทธิประโยชน์ของภาษี ดังนั้นคุณออกจากระบบภาษีเงินได้รายบุคคล ซึ่งออสเตรเลียนับเป็นประเทศที่เก็บภาษีนี้สูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ไปสู่การจ่ายภาษีจากเงินซุปเปอร์ ซึ่งเป็นระบบภาษีที่ต่ำที่สุด ออสเตรเลียเป็น 1 ใน 3 ประเทศของโลกที่ไม่เก็บภาษีจากเงินบำนาญ ดังนั้นเมื่อคุณเกษียณอายุ คุณไม่ต้องเสียภาษีกับเงินซุปเปอร์ และคุณยังเป็น 1 ใน 3 ของกลุ่มคนที่รับผลประโยชน์ จากงบประมาณของรัฐบาล เนื่องจากการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะอยู่ในวัย 50 ปีขึ้นไป”

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเงินสนับสนุนจากครอบครัวจะช่วยให้ลูกๆ ของคนรุ่นเบบี้ บุมเมอร์เข้าสู่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ราคาสูงได้ แต่แองกัสกล่าวว่า เขาไม่มีเงินเพียงพอที่จะเลี้ยงตัวเองด้วยซ้ำ

เนื่องจากแองกัสไม่สามารถเกษียณได้เร็วๆ นี้ เขาจึงต้องพึ่งพาเงินจากลูกๆ ของเขา และรู้สึกว่าจะเป็นผลดีที่เขาจะไม่สร้างหนี้ไว้ให้ลูก

“ผมคิดว่าสิ่งที่ดี่สุดที่ผมสามารถทำได้คือไม่มีหนี้ค่าบ้านที่ต้องผ่อนจ่าย อย่างน้อยผมไม่อยากสร้างภาระให้ลูกๆ ด้วยเรื่องนั้น”


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share