สภาออสฯ ผ่านร่าง กม.เก็บค่าเนื้อหาข่าวบนแพลตฟอร์มดิจิทัล

สภาสหพันธรัฐได้ผ่านร่างประมวลกฎหมายการต่อรองของธุรกิจสื่อแล้ว องค์กรคุ้มครองธุรกิจและผู้บริโภคมั่นใจ ประมวลกฎหมายใหม่เสริมอำนาจให้องค์กรสื่อได้เปรียบในข้อตกลงระหว่างบริษัทดิจิทัลแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่

A picture taken on October 1, 2019 in Lille shows the logos of mobile apps Facebook and Google displayed on a tablet

Source: DENIS CHARLET/AFP via Getty Images

25 ก.พ. ประมวลกฎหมายด้านการต่อรองของธุรกิจสื่อ (Media Bargaining Code) ของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นครั้งแรกของโลก กำลังจะได้รับการประกาศใช้เป็นกฎหมาย หลังสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติเห็นชอบในวันนี้ ต่อเนื่องจากการลงมติเห็นชอบโดยวุฒิสภาเมื่อวานนี้ (24 ก.พ.) ต่อการเปลี่ยนแปลงแก้ไขกฎหมายด้านธุรกิจสื่อโดยรัฐบาล ซึ่งเกิดขึ้นหลังการเจรจากับบรรดาบริษัทดิจิทัลแพลตฟอร์มขนาดใหญ่อย่าง กูเกิล (Google) บริการเว็บไซต์สืบค้นข้อมูล และเฟซบุ๊ก (Facebook) เครือข่ายสังคมออนไลน์  

ก่อนหน้านี้ บริษัทดิจิทัลแพลตฟอร์มทั้งสอง ได้ลงนามในข้อตกลงกับองค์กรสื่อต่าง ๆ ก่อนที่การเจรจาต่อรอง จะได้รับการกำหนดไว้เป็นบทบัญญัติในร่างประมวลกฎหมายดังกล่าว 

นายรอด ซิมส์​ (Rod Sims) ประธานคณะกรรมาธิการด้านการแข่งขันทางการค้าและผู้บริโภคแห่งออสเตรเลีย (ACCC) ได้แสดงความมั่นใจว่า ประมวลกฎหมายที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขอย่างมากนี้ จะสามารถลดทอนพลังอำนาจการตลาดของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ 

กูเกิลและเฟซบุ๊กต้องการสื่อแต่พวกเขาไม่จำเป็นว่าจะต้องการบริษัทใดบริษัทหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งก่อนหน้านี้มันหมายความว่าบรรดาบริษัทสื่อจะไม่สามารถตกลงทางการค้ากับเฟซบุ๊กหรือกูเกิลได้นายซิมส์ กล่าวกับวิทยุเอบีซีในวันนี้ (25 ก.พ.)

จุดประสงค์ของประมวลกฎหมายนี้คือการให้โอกาสในการชี้ขาดสำหรับธุรกิจสื่อซึ่งจะช่วยให้พวกเขาอยู่ในตำแหน่งที่ได้เปรียบในการต่อรองดังนั้นประมวลกฎหมายนี้จะช่วยเหลือให้ธุรกิจสื่อบรรลุข้อตกลงทางการค้าที่มีความเท่าเทียม

จนถึงขณะนี้ องค์กรสื่อขนาดใหอย่าง นิวส์ คอร์ป (News Corp) และโทรทัศน์ช่อง 9 เป็นผู้รับผลประโยชน์หลักจากข้อตกลงที่ได้มีการลงนามระหว่างบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่เหล่านี้ 

นายซิมส์ ระบุว่า เขาไม่ได้รู้สึกประหลาดใจนัก

ในสถานการณ์แบบนี้คุณจะคาดหวังให้ข้อตกลงระหว่างบริษัทที่เป็นตัวเล่นขนาดใหญ่ทางธุรกิจสามารถทำข้อตกลงกับบริษัทเทคโนโลยีเหล่านั้นให้ได้ก่อนจากนั้นก็จะเริ่มเป็นบริษัทขนาดเล็กรองลงมานายซิมส์ กล่าว

หากมองว่าสิ่งนี้เป็นการสนับสนุนงานวารสารศาสตร์มันจะเป็นเรื่องธรรมดาที่จะพบเห็นเม็ดเงินไหลไปยังองค์กรที่มีคนทำข่าวมากที่สุดแต่ผมไม่เห็นเหตุผลใดกับการที่ผู้คนจะสงสัยว่าวงการข่าวจะได้รับผลประโยชน์ทั้งหมด

นายซิมส์ คาดว่า บริษัทเทคโนโลยีออนไลน์เหล่านั้นจะทำข้อตกลงกับองค์กรสื่อขนาดเล็กได้อย่างทันเวลา

ผมเพียงแค่ไม่เห็นเหตุผลว่าทำไมเฟซบุ๊กและกูเกิลจะละเลยพวกเขาผมไม่เห็นเหตุผลใดว่าทำไมพวกเขาจะไม่ทำสัญญากับองค์กรเหล่านั้นและมันก็ไม่ใช้จำนวนเงินมากมายมหาศาลอะไรหากเทียบกับองค์กรที่ข้อตกลงในราคาสูงและเต็มไปด้วยบรรดาคนทำข่าวมากมายนายซิมส์ กล่าว


คุณอาจสังเกตว่า เอสบีเอส ไทย ไม่มีความเคลื่อนไหวบนเฟซบุ๊ก แต่คุณยังสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเรา ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้ท่านพลาดสถานการณ์ล่าสุด

นอกจากนี้ คุณยังสามารถรับฟังข่าวสารล่าสุดเป็นภาษาไทยผ่านทางวิทยุออนไลน์ได้ที่แอปฯ SBS Radio

Share
Published 25 February 2021 1:21pm
Presented by Tinrawat Banyat
Source: AAP, SBS


Share this with family and friends