'แฟร์เวิร์ก' ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมาย 5.75% แต่จะพอหรือไม่

การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำของคณะกรรมาธิการแฟร์เวิร์ก (Fair Work Commission) จะครอบคลุมคนทำงานในออสเตรเลีย 1 ใน 4 ขณะที่สหภาพแรงงานต่าง ๆ กำลังเรียกร้องให้เพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำขึ้น 7% ส่วนกลุ่มนายจ้างบางส่วนเรียกร้องให้เพิ่มขึ้น 4%

A person circles job ads in the newspaper using a red pen.

Annual inflation is at 6.8 per cent in the year to April, driven by increases in housing, food and transport. Source: AAP, Getty

ประเด็นสำคัญในข่าว
  • คณะกรรมาธิการแฟร์เวิร์ก (Fair Work Commission) ได้ตัดสินใจปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอีก 5.75%
  • การเปลี่ยนแปลงจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.นี้ ซึ่งจะทำให้อัตราค่าจ้างต่ำสุดตามกฎหมายเพิ่มขึ้นจาก 21.38 ดอลลาร์ต่อชั่วโมงเป็น 22.88 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง หรือหากเป็นเงินเดือนเทียบเท่างานเต็มเวลาขั้นต่ำตามกฎหมาย จะเพิ่มขึ้นเป็น 45,337 ดอลลาร์ต่อปี
  • ก่อนหน้านี้ สภาสหภาพแรงงานได้เรียกร้องให้ปรับขึ้นไปอีกร้อยละ 7 ส่วนกลุ่มนายจ้างเตือนว่า การปรับขึ้นในอัตราในก็ตามที่เกินกว่า 4% จะเป็นสิ่งที่ “ไร้ความรับผิดชอบ”
คณะกรรมาธิการแฟร์เวิร์ก (Fair Work Commission) มีมติปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำแห่งชาติ และอัตราค่าจ้างตามอัตราเฉพาะอุตสาหกรรม (award rate) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.75 ในการพิจารณาค่าจ้างประจำปี ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมนี้ ซึ่งคนทำงานในออสเตรเลียราว 2.7 ล้านคนจะได้รับผลโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

เมื่อปีที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการแฟร์เวิร์กได้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำร้อยละ 5.2 ซึ่งนับเป็นการเพิ่มมากที่สุดในรอบ 16 ปี
จาก มากกว่า 100 หน้า ได้ระบุถึง “การเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด” ของภาวะเงินเฟ้อเป็นร้อยละ 5.1 ในช่วงเดือนมีนาคมปีก่อนถึงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เป็นการเพิ่มขึ้นรายปีที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 ที่ผ่านมา

แต่ด้วย ในรอบเดือนเมษายนปีก่อนจนถึงเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งได้แรงหนุนจากต้นทุนที่อยู่อาศัย อาหาร และการขนส่งที่เพิ่มขึ้น เราจะคาดหวังอะไรได้บ้างจากการตัดสินใจในปีนี้

การขึ้นค่าจ้างที่ได้รับการเสนอ

คณะกรรมาธิการแฟร์เวิร์ก ได้มีคำตัดสินเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำ หลังการพิจารณาข้อโต้แย้งต่าง ๆ จากสหภาพแรงงาน กลุ่มนายจ้าง รัฐบาลกลาง รวมถึงรัฐบาลรัฐและมณฑล ที่นำเสนอผ่านการยื่นข้อเสนอและทางวาจา โดยก่อนหน้านี้ สภาสหภาพแรงงานแห่งออสเตรเลีย (Australian Council of Trade Unions หรือ ACTU) ได้ยื่นข้อเสนอให้มีการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำและค่าจ้างตามอุตสาหกรรมร้อยละ 7

การตัดสินใจดังกล่าวจะทำให้อัตราค่าจ้างของคนทำงานรับค่าจ้างต่ำสุดตามกฎหมายเพิ่มขึ้น
  • จาก 21.38 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง เพิ่มเป็น 22.88 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง
  • และเงินเดือนเทียบเท่างานเต็มเวลาขั้นต่ำจะเพิ่มขึ้นเป็น 45,337 ดอลลาร์ต่อปี (เพิ่มจากเดิมอีก 3,000 ดอลลาร์)
รายงานจากแฟร์เวิร์กอ้างอิงผลกำไรของบริษัทต่าง ๆ “ที่แข็งแรง” ในปี ค.ศ.2022 และแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นต่อ ครัวเรือนของพนักงาน โดยดัชนีค่าครองชีพสำหรับลูกจ้างโดยสำนักงานสถิติแห่งออสเตรเลีย (ABS Living Cost Index for Employee) ในเดือนธันวาคมปี 2021 ถึงเดือนธันวาคม 2022 อยู่ที่ร้อยละ 9.3 ซึ่งคิดเป็น 3 เท่าของดัชนีราคาผู้บริโภคที่ร้อยละ 3.3 ในช่วงเวลาเดียวกัน

ด้านหอการค้าและอุตสาหกรรมออสเตรเลีย (The Australian Chamber of Commerce and Industry) ต้องการที่จะให้ค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้นไปที่ร้อยละ 4 โดยระบุว่าอัตราใดที่สูงกว่านี้ “จะเป็นสิ่งที่ไร้ความรับผิดชอบอย่างมาก” และ “มีเพียงแต่จะเพิ่มแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ และยืดระยะเวลาของเงินเฟ้อในระดับสูงออกไปให้นานขึ้น”

อย่างไรก็ดี รัฐบาลกลางไม่ได้รวบรวมอัตราต่าง ๆ ที่ได้รับการเสนอ แต่ระบุว่า “รัฐบาลแนะนำให้คณะกรรมาธิการการแฟร์เวิร์ก (Fair Work Commission) ทำให้แน่ใจว่าค่าจ้างที่แท้จริงของคนทำงานที่ได้รับค่าจ้างต่ำสุดตามกฎหมายในออสเตรเลียจะไม่ถอยหลัง”

ปัจจัยใดบ้างที่คณะกรรมาธิการแฟร์เวิร์กพิจารณา

การตัดสินใจของคณะกรรมาธิการแฟร์เวิร์ก เกิดขึ้นโดยคณะกรรมการอิสระ 7 คน พิจารณาจากข้อมูลที่ขัดแย้งกันในขณะนั้น ซึ่งมีพระราชบัญญัติการจ้างงานที่เป็นธรรม ค.ศ. 2009 (Fair Work Act 2009) ซึ่งสะท้อนของตัวชี้วัดต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจ เช่น อัตราเงินเฟ้อและการเติบโตของการจ้างงาน ตลอดจนความต้องการของผู้มีค่าจ้างต่ำ

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ซู ริชาร์ดสัน (Sue Richardson) จากมหาวิทยาลัยฟลินเดอส์ เป็นหนึ่งในคณะผู้เชี่ยวชาญของคณะกรรมาธิการแฟร์เวิร์กเป็นเวลา 9 ปีจนถึงปี ค.ศ. 2019 กล่าวว่า เป็นการกระทำอันสมดุลที่จะพิจารณาเรื่องของการแข่งขัน ข้อโต้แย้ง และประเด็นข้อมูล

“มันไม่ใช่สูตรทางกลไก มันถือว่าเป็นการตัดสินโดยอาศัยหลักฐานทั้งหมด” ศ.กิตตุคุณริชาร์ดสันกล่าว
ศาสตราจารย์ริชาร์ดสัน กล่าวว่า ภาพรวมของการจ้างงานนั้นดูแข็งแรง แต่อัตราเงินเฟ้อและผลิตผลของแรงงานกำลังลดปัจจัยต่าง ๆ

“จำนวนชั่วโมงในการทำงานเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากในปีที่แล้ว โดยเพิ่มขึ้น 7%” ศ.กิตตุคุณริชาร์ดสันกล่าว

“การว่างงานของเยาวชนลดลง และประชากรวัยทำงานได้รับการจ้างงานในสัดส่วนที่สูง”

“ในส่วนหน้าของการจ้างงาน สิ่งต่าง ๆ ดูดีจริง ๆ แต่หลังจากนั้นเราก็มีปัญหาเรื่องเงินเฟ้อ และผลิตผลแรงงานก็ลดลง”

รศ.ไมเคิล ด็อกเคียรี (Michael Dockery) จากมหาวิทยาลัยเคอร์ติน กล่าวว่า การพยายามควบคุมภาวะเงินเฟ้อไปพร้อมกับการตอบสนองต่อแรงกดดันจากค่าครองชีพนั้นเป็นเรื่องยาก

“การปรับค่าทางดัชนีอย่างเต็มรูปแบบ หมายถึงการป้อนเข้าสู่อัตราเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นสิ่งที่บางครั้งเรียกว่าเกลียวราคาค่าจ้าง เพราะเมื่อค่าจ้างสูงขึ้นก็จะเป็นการบังคับให้ราคาสูงขึ้น” รศ.ด็อกเคียรีกล่าว

ค่าจ้างขั้นต่ำเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในโลก

องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) จัดให้ออสเตรเลียอยู่ใน 5 อันดับแรกของค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศต่าง ๆ โดยวัดจากค่าจ้างขั้นต่ำจริงต่อชั่วโมงในปี ค.ศ.2021 โดยประเทศในอันดับ 1 คือลักเซมเบิร์ก (13.4 ดอลลาร์สหรัฐ) ตามมาด้วยออสเตรเลีย (12.8 ดอลลาร์สหรัฐ) ในอันดับ 2 ฝรั่งเศสในอันดับ 3 (12.6 ดอลลาร์สหรัฐ) เยอรมนีในอันดับ 4 (12.2 ดอลลาร์สหรัฐ) และนิวซีแลนด์ในอันดับ 5 (11.9 ดอลลาร์สหรัฐ)

ศ.มาร์ค วูดเด็น (Mark Wooden) จากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น กล่าวว่า แนวทางของออสเตรเลียในการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำนั้นไม่เหมือนใคร

“ไม่มีใครอีก (นอกออสเตรเลีย) ที่มีระบบกำหนดค่าจ้างรายอุตสาหกรรมที่มีความแข็งแรงมาก (โดยคณะกรรมาธิการแฟร์เวิร์ก) สำหรับคนทำงานจำนวนมากกเกือบ 1 ใน 4 ของตลาดแรงงาน” ศ.วูดเด็นกล่าว
Hourly minimum wage in OECD countries
Australia has one of the highest minimum wages among OECD countries. Source: SBS
“ในประเทศอื่น ๆ โดยพื้นฐานแล้วมีค่าจ้างขั้นต่ำเพียงอัตราเดียวที่กำหนดโดยรัฐบาล และจะมีผลกับคนทำงานเพียงระหว่าง 2-5% ของทั้งตลาดแรงงาน”

ทั้งนี้ ระบบค่าจ้างรายอุตสาหกรรมมีผลบังคับใช้ในออสเตรเลียตั้งแต่ปี ค.ศ.1907 โดยในปัจจุบันครอบคลุม 130 อุตสาหกรรม ตั้งแต่คนทำงานในธุรกิจบริการไปจนถึงนักบิน ส่วนอัตราค่าจ้างขั้นต่ำแห่งชาตินั้นได้มีการเริ่มใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ.1997 โดยการตัดสินใจในส่วนของค่าจ้างขั้นต่ำจะกำหนดรายได้พื้นฐานสำหรับคนทำงาน ซึ่งในบางกรณีอาจมากกว่าคนทำงานที่อยู่ภายใต้ข้อตกลงขององค์กร (enterprise agreement)

ศ.วูดเด็น กล่าวว่า การดูจำนวนเงินดอลลาร์ของค่าจ้างขั้นต่ำเพียงอย่างเดียวไม่สามารถบอกเรื่องราวได้ทั้งหมด

“คุณต้องระมัดระวัง (การเปรียบเทียบ) เพราะบางประเทศที่มีค่าจ้างขั้นต่ำสัมพัทธ์สูงที่สุดนั้นเป็นประเทศโลกที่สามที่มีมาตรฐานการครองชีพต่ำมาก” เขากล่าว

ด้าน ศ.กิตติคุณ ริชาร์ดสัน กล่าวว่า นักเศรษฐศาสตร์คนอื่น ๆ ในประเทศต่าง ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ต่างสงสัยว่าออสเตรเลียบรรลุอัตราการว่างงานต่ำเพียงร้อยละ 3.7 ได้อย่างไร เมื่อพิจารณาจากค่าจ้างขั้นต่ำที่ค่อนข้างสูง
“ฉันไม่ได้บอกว่าเรามีการกระจายรายรับจากค่าจ้างที่เท่าเทียมกันหรือยุติธรรม เรามีคนที่จ่าย (ค่าจ้าง) มากกว่าคนอื่น ๆ” ศ.กิตติคุณ ริชาร์ดสัน กล่าว

"แต่ในแง่ของการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ที่ไม่มีอำนาจต่อรองในที่ทำงาน ฉันคิดว่าเราทำได้ดีทีเดียว โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำตามจริง ยังมีคำถามใหญ่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อกำหนดอยู่"
A series of tables showing the difference between the set minimum wage and the actual minimum wage after accounting for inflation.
The difference between the set/nominal minimum wage (light blue) versus real minimum wage after accounting for inflation (dark blue). Countries are arranged by descending order of the real minimum wage growth between 2020 and 2022. Credit: Global Wage Report 2022-23/ILO minimum wage database/IMF inflation 2022 data
ในเวลาที่อัตราเงินเฟ้อในกลุ่มประเทศ OECD สูงที่สุดในรอบ 40 ปี องค์กรดังกล่าวซึ่งประกอบด้วยสมาชิกใน 38 ประเทศระบุว่า อัตราเงินเฟ้อกำลังส่งผลกระทบต่อครัวเรือนที่มีรายได้น้อยมากที่สุด เช่นเดียวกับข้อสรุปในรายงานค่าจ้างทั่วโลกประจำปี (Global Wage Report) ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organisation หรือ ILO)

“การปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้เหมาะสมอาจเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากร้อยละ 90 ของประเทศสมาชิก ILO มีระบบค่าจ้างขั้นต่ำอยู่แล้ว” รายงานดังกล่าวระบุ 



คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 
เรื่องราวที่น่าสนใจ จาก เอสบีเอส ไทย

ความสามารถในการเช่าบ้านในออสฯ แย่ที่สุดในรอบ 9 ปี


Share
Published 5 June 2023 5:14pm
By Biwa Kwan
Presented by Tinrawat Banyat
Source: SBS


Share this with family and friends